27/11/54

18 file มีอะไรบ้าง

1. anc.txt = เก็บรายละเอียดการให้บริการฝากครรภ์
2. appoint.txt= เก็บรายละเอียดการนัดมารับบริการครั้งต่อไปของบุคคลที่มารับบริการ
3. card.txt = เก็บการมีหลักประกันสุขภาพของบุคคล
4. chronic.txt=เก็บประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของบุคคล
5. death.txt = เก็บรายละเอียดการเสียชีวิตของบุคคล
6. diag.txt = เก็บรายละเอียดการวินิจฉัยโรคของบุคคลที่มารับบริการทุกคน
ึ7. drug.txt = เก็บรายระเอียดการใช้เวชภัณฑ์แก่ผู้มารับบริการ
8. epi.txt = เก็บรายละเอียดการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
9. fp.txt = เก็บรายละเอียดการให้บริการวางแผนครอบครัว
10. home.txt = เก็บรายละเีอียดหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ
11. mch.txt = เก็บรายละเอียดประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด และการดูแลมารดาหลังคลอด
12. nutri.txt = เก็บรายละเอียดภาวะโภชนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุกคนในเขตรับผิดชอบ
13.person.txt = เก็บรายละเอียดข้อมูลบุคคล
14. pp.txt = เก็บรายละเอียดการให้บริการดูแลเด็กหลังคลอด
15. proced.txt = เก็บรายละเอียดการให้บริการหัตถการแก่ผู้ที่มารับบริการ
16. service.txt = เก็บรายละเอียดการมารับบริการของบุคคลทุกคนทั้งที่อาศัยอยู่ในเขต และที่มาจากนอกเขตรับบริการ
17. surveil.txt = เก็บรายละเอียดของข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังจากบุคคลที่มารับบริการ
18. women.txt = ข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์์ุ ที่แต่งงานแล้วอยู่กินกับสามี อายุระหว่าง 15-45 ปี

26/11/54

บัตรทองผู้พิการ (ท.74)

บัตรทองสำหรับผู้พิการ (ท.74)
บัตรทองผู้พิการ  คือ บัตรทองที่ระบุสิทธิย่อย  ท74XXXXXXXX  หรือบัตรทองที่ระบุ     ท00XXXXXXXX (ผู้พิการซึ่งเป็นบัตรทองแบบเก่า)  จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมสำหรับผู้พิการ  ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

ข้อดี ของบัตรทองผู้พิการ (ท.74)1.  สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ
2.  สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการของรัฐอีกทั้งยังได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทพิการ
สิทธิของผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         1. สิทธิประโยชน์หลัก  ได้แก่  บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์  หมายความรวมถึง  บริการส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมโรค  การป้องกันโรค  การตรวจ  การวินิจฉัยและการรักษาพยาบาล  โดยสามารถรับบริการได้ที่  สถานีอนามัย  ศูนย์บริการสาธารณสุข  โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
         2.  สิทธิเฉพาะสำหรับผู้พิการ  ได้แก่  สิทธิได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ  ได้แก่  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด  การฟื้นฟูการได้ยิน  การฟื้นฟูการเห็น  การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ  และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ

บัตรทองคนพิการ  ใช้หลักฐานอะไรบ้าง-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  ใช้สำเนาสูติบัตรหรือใบเกิด)
-  สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้พิการมีชื่ออยู่
-  สมุดประจำตัวผู้พิการหรือเอกสารรับรองความพิการจากหน่วยบริการ
-  กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้านหรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง

กรณีมีบัตรทองเดิมอยู่แล้ว  จำเป็นต้องทำบัตรทองผู้พิการใหม่หรือไม่
            ผู้พิการที่มีบัตรทองอยู่เดิมแล้ว  ที่ไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74  ควรเข้ารับการตรวจประเมินความพิการ  ณ  หน่วยบริการของรัฐ  เพื่อให้ออกเอกสารรับรองความพิการและนำมาประกอบการลงทะเบียนทำบัตรทองผู้พิการ  เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มเติม
บัตรทองผู้พิการ (ท.74)
บัตรทองสำหรับผู้พิการ (ท.74)
บัตรทองผู้พิการ  คือ บัตรทองที่ระบุสิทธิย่อย  ท74XXXXXXXX  หรือบัตรทองที่ระบุ     ท00XXXXXXXX (ผู้พิการซึ่งเป็นบัตรทองแบบเก่า)  จะได้รับสิทธิเพิ่มเติมสำหรับผู้พิการ  ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

ข้อดี ของบัตรทองผู้พิการ (ท.74)1.  สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ
2.  สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการของรัฐอีกทั้งยังได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทพิการ
สิทธิของผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         1. สิทธิประโยชน์หลัก  ได้แก่  บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์  หมายความรวมถึง  บริการส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมโรค  การป้องกันโรค  การตรวจ  การวินิจฉัยและการรักษาพยาบาล  โดยสามารถรับบริการได้ที่  สถานีอนามัย  ศูนย์บริการสาธารณสุข  โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
         2.  สิทธิเฉพาะสำหรับผู้พิการ  ได้แก่  สิทธิได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ  ได้แก่  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด  การฟื้นฟูการได้ยิน  การฟื้นฟูการเห็น  การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ  และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ

บัตรทองคนพิการ  ใช้หลักฐานอะไรบ้าง-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  ใช้สำเนาสูติบัตรหรือใบเกิด)
-  สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้พิการมีชื่ออยู่
-  สมุดประจำตัวผู้พิการหรือเอกสารรับรองความพิการจากหน่วยบริการ
-  กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้านหรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง

กรณีมีบัตรทองเดิมอยู่แล้ว  จำเป็นต้องทำบัตรทองผู้พิการใหม่หรือไม่
            ผู้พิการที่มีบัตรทองอยู่เดิมแล้ว  ที่ไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74  ควรเข้ารับการตรวจประเมินความพิการ  ณ  หน่วยบริการของรัฐ  เพื่อให้ออกเอกสารรับรองความพิการและนำมาประกอบการลงทะเบียนทำบัตรทองผู้พิการ  เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มเติม
http://www.jvkorat.go.th/newsite/index.php?option=com_content&view=article&id=15&Itemid=11