4/2/59

การเตรียมการเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA

1. การขึ้นทะเบียน (Registration) กับทางสถาบัน โดยส่งเอกสารดังต่อไปนี้
    1.1. หนังสือแสดงความจำนงเพื่อการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล
    1.2. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาล: Hospital profile
การเตรียมการเพื่อเข้าสู่การประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพ
                         (ขั้น 1, 2, Intensive Consultation Visit, Preparation Survey)     โรงพยาบาลที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามทิศทางของมาตรฐานโรงพยาบาล และมีความประสงค์ จะขอรับการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพ ขอให้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

      การเยี่ยมโรงพยาบาลเพื่อรับรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีความประสงค์จะประเมิน ระดับขั้น
การพัฒนาคุณภาพขั้น 1 และ ขั้น 2) 1. เมื่อโรงพยาบาลมีความพร้อม ให้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารส่ง สรพ. ในรูป e-file
ดังนี้
    1.1 Hospital profile
    1.2 Overall Scoring
    1.3 ผลงานเด่นที่แสดงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่สำคัญ จำนวน 2 - 3 โรค ผลงานงานเด่นที่แสดงการพัฒนาระบบงาน
          ที่สำคัญ จำนวน 2 - 3 ระบบ (RM, IC, ENV และอื่นๆ)
    1.4 Gap Analysis จาก Patient Safety Goals : SIMPLE จำนวน 5 เรื่อง
    1.5 ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเวชระเบียนของโรงพยาบาล ใช้เกณฑ์ของ สปสช. ซึ่งในปัจจุบันใช้เพียงผลการตรวจเวชระเบียนของ
          ผู้ป่วยใน ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยนอก
2. สถาบันจัดกำหนดการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับขั้นการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ประมาณ 45 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารของโรงพยาบาล
3. เมื่อโรงพยาบาลได้รับกำหนดการเยี่ยม ขอให้จัดส่งเอกสารข้อ 1.1 – 1.5 โดยจัดส่งเป็น hard copy และ electronic-file ให้ผู้เยี่ยมโดยตรง
    ไม่น้อยกว่า 1 - 2 สัปดาห์ก่อนการเยี่ยม และหากโรงพยาบาลไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้เยี่ยมในเวลาที่กำหนด ทางสถาบันสามารถ
    ยกเลิกกำหนดการเยี่ยมในครั้งนั้น และจะกำหนดวันเยี่ยมให้ใหม่
4. ภายหลังการเยี่ยมให้คำปรึกษาโรงพยาบาล สถาบันจะจัดทำรายงานเสนอกรรมการและผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาตามลำดับ และประกาศผล
    ให้โรงพยาบาลรับทราบ ภายในระยะเวลาประมาณ 45 วันหลังจากวันเข้าเยี่ยมโรงพยาบาล
5. ขอให้โรงพยาบาลจัดส่งเอกสารเพื่อการเยี่ยมประเมินขั้นการพัฒนากระบวนการคุณภาพในรอบปีต่อไป ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนหมด
    อายุการรับรอง
การเยี่ยมโรงพยาบาลเพื่อให้คำปรึกษาเข้ม (Intensive Consultation Visit) หรือ การเยี่ยมโรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม (Preparation Survey) เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องการยกระดับการพัฒนาคุณภาพต่อจากขั้น 2
•   การเตรียมเอกสารเพื่อ ICV และ Preparation Survey ให้ถือการเตรียมเอกสารเพื่อการเยี่ยมขั้น 3 เป็นแนวทาง แต่เอกสารยังไม่จำเป็นต้องครบถ้วนสมบูรณ์ทุกชิ้น โดยให้โรงพยาบาลส่งเอกสารให้สถาบัน เท่าที่เตรียมแล้วเสร็จ กรณีที่ต้องมีการประเมินเพื่อต่ออายุขั้น 1 หรือ 2 ร่วมด้วย ให้โรงพยาบาลส่งเอกสาร 5 ชิ้นตามการประเมินขั้น 1, 2 มาด้วย (ในเอกสาร 5 ชิ้น โรงพยาบาลอาจขอยกเว้นไม่ส่งเป็นบางชิ้นได้เพราะมีเอกสารสำหรับขั้น 3 ที่เทียบเคียงกันได้ส่งมาแล้ว ในกรณีนี้ให้ประสานสถาบันพิจารณาเป็นรายกรณี)
   การเตรียมการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพ  (Accreditation Survey/Re-accreditation Survey) 
    โรงพยาบาลที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามทิศทางของมาตรฐานโรงพยาบาล และมีความประสงค์จะขอรับการเยี่ยมเพื่อรับรอง
กระบวนการคุณภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (องค์การมหาชน) ขอให้ดำเนินการดังนี้

1. การเตรียมเอกสารเพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (Accreditation Survey) และเพื่อต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพ
โรงพยาบาล (Re-accreditation Survey) ตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

    1.1 แบบประเมินตนเอง
          1) Hospital profile
          2) รายงานความก้าวหน้าจากการเยี่ยมครั้งที่แล้ว (ถ้ามี)
          3) แบบประเมินตนเองภาพรวม : SA2011+ตอนที่ 4
          4) Service Profileทีมนำทางด้านคลินิก (PCT) ทุกทีมตามบริบทของโรงพยาบาล

หมายเหตุ (1) เอกสารข้อ 3) แบบประเมินตนเองภาพรวม กรณีโรงพยาบาลจัดเตรียมข้อมูลแบบประเมินตนเองภาพรวม ในลักษณะที่อิงตาม
                   SPA ก็ให้ใช้ตามแบบฟอร์มนั้นโดยไม่ต้องเขียนใหม่ในรูปแบบของ SA2011
              (2) Service Profile ของทีมที่มิใช่ PCT ยังใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการ และเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   ให้โรงพยาบาลรวบรวมเอกสารและ จัดเตรียมไว้ที่โรงพยาบาล

     1.2 ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเวชระเบียนของโรงพยาบาล ใช้เกณฑ์ของ สปสช. ซึ่งในปัจจุบันใช้เพียงผลการตรวจเวชระเบียนของผู้ป่วยใน ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยนอก

     1.3 กรณีเป็นการขอรับการรับรองครั้งแรก และเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียงขึ้นไป โรงพยาบาลจะต้องประสานให้องค์กรวิชาชีพด้าน เภสัชกรรม คือ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เข้าตรวจเยี่ยมประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพก่อนวันเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาลของสถาบัน
            - การนับจำนวนเตียงของโรงพยาบาล นับตามจำนวนเตียงที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของทางราชการ
            - ถ้าผลการตรวจเยี่ยมอย่างเป็นทางการจากองค์กรวิชาชีพยังไม่แล้วเสร็จ ขอให้โรงพยาบาลติดต่อขอผลเบื้องต้นเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งมาที่สถาบัน
            - กรณีเป็นการต่ออายุการรับรอง สถาบันอาจจะขอให้มีผลการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ ในกรณีที่โรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลง เจ้าของหรือผู้บริหารโรงพยาบาล มีการควบรวมกิจการ มีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือศักยภาพการจัดบริการที่สำคัญ
     1.4 กรณีเป็นการขอรับการรับรองครั้งแรก และเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงขึ้นไป โรงพยาบาลจะต้องมีการประสานให้องค์กรวิชาชีพ ด้านเทคนิคการแพทย์ เข้าตรวจเยี่ยมประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพก่อนวันเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาลของสถาบัน
            - การดำเนินการ ให้เป็นไปตามข้อความที่ระบุไว้ในข้อ 1.3 โดยอนุโลม
            - ผลการตรวจเยี่ยมจากองค์กรวิชาชีพด้านเทคนิคการแพทย์ที่สถาบันยอมรับ คือ
              * สภาเทคนิคการแพทย์ (LA)
              * ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
              * กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ISO 15189)
            - กรณีโรงพยาบาลที่จะขอรับการประเมินจากสถาบันเป็นโรงเรียนแพทย์ ขอให้ผลการตรวจเยี่ยมเป็นของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
            - กรณีเป็นโรงพยาบาลขนาดต่ำกว่า 60 เตียง ควรมีผลการตรวจเยี่ยมให้คำปรึกษาจากนักเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ ส่งมาให้สถาบัน
     1.5 ขอให้โรงพยาบาลจัดส่งแบบประเมินตนเองในข้อ 1.1 โดยพิมพ์ด้วยกระดาษ A4 ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 16 พร้อมกับจัดทำเป็น CD ส่งมายังสถาบัน และถ้าเป็นการต่ออายุการรับรอง ควรส่งก่อนวันหมดอายุ 6 เดือน
           - Hospital profile รวมกับ SA2011 ตอนที่ 1 ถึง 4 ความยาวไม่เกิน 200 หน้า
           - Service Profile (เฉพาะทีมทางคลินิก) ความยาวของแต่ละทีม ไม่เกิน 5 หน้า
           - Clinical Tracer Highlight ความยาวแต่ละเรื่องประมาณ 1-2 หน้า รวมทั้งหมดไม่เกิน 40 หน้า

2. สถาบันศึกษาเอกสารของโรงพยาบาลเพื่อพิจารณาจัดการเยี่ยมสำรวจ โดยมีเกณฑ์พิจารณา ดังนี้
    2.1. แบบประเมินตนเองมีเนื้อหา ครบถ้วน กระชับและสมบูรณ์ สอดคล้องกับประเด็นสำคัญตามมาตรฐาน
    2.2. มีความก้าวหน้าในการนำมาตรฐาน HA สู่การปฏิบัติ
    2.3. หากผ่านเกณฑ์ข้างต้น สถาบันจะกำหนดวันเข้าเยี่ยมโรงพยาบาล ภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนนับจากเอกสารมีความครบถ้วน สมบูรณ์ หรืออาจจัดกิจกรรม web conference กรณีข้อมูลโรงพยาบาลไม่ผ่านเกณฑ์
    2.4. หากไม่ผ่านเกณฑ์ สถาบันจะมีการปรับกิจกรรมเยี่ยมตามความเหมาะสม

3. เมื่อโรงพยาบาลได้รับกำหนดการเยี่ยม ขอให้จัดส่งเอกสารดังรายละเอียดข้างต้นฉบับสมบูรณ์ให้กับผู้เยี่ยมสำรวจโดยตรง ไม่น้อยกว่า 3 - 4 สัปดาห์ก่อนวันเยี่ยม และในกรณีที่โรงพยาบาลไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้เยี่ยมสำรวจได้ในเวลาที่กำหนด ทางสถาบันสามารถยกเลิก  กำหนดการเยี่ยมสำรวจในครั้งนั้น และจะกำหนดวันเยี่ยมสำรวจให้ใหม่

4. ภายหลังการเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาล สถาบันจะเสนอรายงานการเยี่ยมสำรวจแก่คณะอนุกรรมการรับรองกระบวนการคุณภาพ และ  คณะกรรมการบริหารของสถาบันตามลำดับ เพื่อพิจารณา และประกาศผลให้โรงพยาบาลรับทราบภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากวันเข้าเยี่ยมโรงพยาบาล

5. สถาบันแจ้งผลการรับรองและส่งสรุปผลการเยี่ยมสำรวจให้แก่โรงพยาบาล โดยสถาบันขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
    5.1. โรงพยาบาลจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพในประเด็นที่สถาบันให้ข้อเสนอแนะและส่งกลับมายังสถาบัน ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ โรงพยาบาลได้รับทราบผลการรับรอง
    5.2. รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งตัวชี้วัดที่สำคัญมายังสถาบันทุกปี เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามเยี่ยมและการวาง แผนสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในระยะต่อไป
    5.3. จัดทำรายงานแจ้งสถาบันทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อผู้มารับบริการอย่างรุนแรง โดยไม่คาดคิด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผล กระทบต่อความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อโรงพยาบาล
     5.4. จัดทำรายงานแจ้งสถาบันภายใน 30 วัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของหรือผู้บริหารโรงพยาบาล มีการควบรวมกิจการ   มีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือศักยภาพการจัดบริการที่สำคัญ
    5.5. ให้ความร่วมมือและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าเยี่ยมสำรวจเพื่อเฝ้าระวัง หรือเยี่ยมติดตามให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินผล ระบบงานสำคัญ ในระยะเวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง หลังการรับรอง

 http://www.urnurse.net/qc-HA-prepare.html