Service Profile


1.บริบท
งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี เป็นหน่วยบริการด่านหน้า ที่ต้องให้บริการแก่ผู้รับบริการทุกระดับ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งการให้บริการที่ดีและมีคุณภาพนั้นต้องอาศัยความรู้ความสามารถ เทคนิค กลยุทธ์ และทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การจัดทำประวัติเวชระเบียนของผู้รับบริการโดยมีข้อมูลประวัติส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน การซักประวัติผู้ป่วย การคัดกรองผู้ป่วย การเก็บรักษาเวชระเบียนที่มีระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ มีระบบฐานข้อมูลที่เป็นเอกสารและฐานข้อมูลในระบบอิเลคทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้รับบริการทั้งในส่วนของเอกสารและข้อมูลในระบบอิเลคทรอนิกส์ อีกทั้งยังมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการดำเนินงานเพื่อมุ่งให้เกิดบริการที่ดี มีพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อถือ ศรัทธาและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ที่สามารถสร้างความประทับใจแก่ผู้รับบริการ และในส่วนของงานคุณภาพนั้นต้องดำเนินการให้มีคุณภาพให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล เพื่อเป็นมาตรฐานในการดูแลรักษาพยาบาลสำหรับแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรอื่น ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ใช้เพื่อการศึกษาวิจัย การพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล การบริหารจัดการ เป็นหลักฐานทางกฎหมาย เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร และเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการอื่น ๆ ในการวางแผนพัฒนาทางด้านสาธารณสุขของประเทศ
  
ก.หน้าที่และเป้าหมาย
บริการเวชระเบียน ด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และประทับใจ ตลอด 24 ชั่วโมง บนพื้นฐานความพึงพอใจของผู้รับบริการทุกระดับ
ข.ขอบเขตบริการ
1.   จัดระบบบริการงานเวชระเบียนด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาและประทับใจ เป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการทั้งในและนอกเวลาราชการ
2.      จัดระบบบริการ ค้นหาและจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณและคุณภาพเวชระเบียน
3.   จัดทำประวัติเวชระเบียนของผู้รับบริการโดยมีข้อมูลประวัติส่วนบุคคล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานรักษาพยาบาลได้ใช้ประกอบในการให้บริการทางการแพทย์
4.   จัดทำทะเบียนผู้ป่วยที่รับไว้รักษาต่อในโรงพยาบาล และรวบรวมรายงานทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกราย ให้ครบถ้วน สมบูรณ์และทันเวลา
5.   จัดสถานที่และระบบในการเก็บรักษาเวชระเบียน Digital Filing System ให้มีประสิทธิภาพ เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบสะดวกในการค้นหาและป้องกันการสูญหาย
6.   รวบรวม สถิติข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกรายจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้ครบถ้วน                                                                                  
7.      ประสานงานเบื้องต้นกับผู้ป่วยในการให้บริการและประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยบริการด่านหน้า Front liner
8.      ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบงานที่เหมาะสม
9.   การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการของผู้ป่วย รวมถึงการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย
10. จัดระบบการแปลผลลงรหัสโรค ( Medical Coding ) เวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ให้รหัสโรคผู้ป่วย(ICD-10),รหัสหัตถการ(ICD-9-CM) ตามการวินิจฉัยโรคผลการรักษาการผ่าตัดโรคแทรกซ้อน,สาเหตุการตายฯลฯ
11. จัดระบบการบันทึกและเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์ถูกต้อง มีระบบตรวจสอบการบันทึกข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน(Medical Record Audit )
12. จัดระบบการรักษาความลับข้อมูลของผู้ป่วย มีการกำหนดรหัสผ่านการเข้าถึงข้อมูล มีแบบยินยอมเปิดเผยประวัติการรักษาของผู้ป่วย
13.  ให้บริการค้นหาและสำเนาเวชระเบียน เพื่อการรักษาพยาบาล,การวิจัย,ประกันชีวิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
14. ให้บริการข้อมูล สถิติการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลราชบุรี แก่บุคลากรและหน่วยงานทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล
15.  เป็นแหล่งศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ
16. พัฒนาระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Medical Record System ) เพื่อตอบสนองการพัฒนาระบบบริการให้มีความเป็นเลิศในการให้บริการ








ค.ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ


 ผู้รับผลงาน
ความต้องการของผู้รับผลงาน
 ผู้ป่วย
  • ได้รับเวชระเบียนที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันเวลา
·         ได้รับบริการที่ดี ได้รับบริการที่เอาใจใส่
  • ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการและวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจน
  • ได้รับบริการอย่างเสมอภาคและตามลำดับ
 แพทย์/พยาบาล
  • ได้รับแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ถูกต้อง ถูกคน ครบถ้วนและทันเวลา
  • มีแบบฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างพอเพียง
  • มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการทำงานและเชื่อมโยงข้อมูลใช้ประโยชน์ร่วมกัน
 ผู้บริหาร
โรงพยาบาล
  • ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ตามกระบวนการ เพื่อใช้สำหรับการวางแผนในการบริหารโรงพยาบาล
 บุคลากรภายใน/ภายนอก
โรงพยาบาล
·         ได้รับข้อมูลและสถิติการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลราชบุรี เมื่อร้องขอตามขั้นตอน
 หน่วยงานภายนอก
  •  ได้รับสถิติ รายงานการให้บริการของโรงพยาบาลตามกำหนดเวลา



ง.ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
เป็นหน่วยงานเวชระเบียนชั้นนำ ด้านบริการและวิชาการที่ได้มาตรฐาน
จ.ความท้าทาย/ความเสี่ยงสำคัญในหน่วยงาน1.ความทันเวลาของการบริการเวชระเบียน
2.ความถูกต้องของการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากฐานข้อมูล
3.การสูญหายของแฟ้มเวชระเบียน
4.ความถูกต้อง/ครบถ้วนของการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล
5.ความพึงพอใจในการให้บริการของงานเวชระเบียน






ฉ.ปริมาณงานและทรัพยากร




2552
2553
2554
1
  ผู้มารับบริการทั้งหมด
608,468
679,026
683,022
2
  ผู้มารับบริการเฉลี่ยต่อวัน
2,504
2,761
2,811
3
  จำนวนผู้ป่วยนอก (ครั้ง)
581,707
643,302
659,567
4
  จำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อวัน
2,394
2,616
2,714
5
  จำนวนเตียง
855*
855*
855*
6
  จำนวนผู้ป่วยที่รับไว้
43,004
42,237
43,167
7
  จำนวนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อวัน
627
632
658
8
  อัตราครองเตียง
73.26
73.91
76.95
9
  อัตราส่วนผู้ป่วยนอกต่อผู้ป่วยใน
13.53 : 1
15.23 : 1
15.28:1


ที่มา:ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ

อัตรากำลัง



อัตรากำลัง
จำนวน
ข้าราชการ
5 ราย
ลูกจ้างประจำ
16 ราย
ลูกจ้างชั่วคราว
31 ราย












2.กระบวนการสำคัญ (Key Processes)


กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
(Process Requirement)
ตัวชี้วัดสำคัญ
(Performance Indicator)
1.การจัดทำเวชระเบียน


-ผู้ป่วยได้รับบริการเวชระเบียนในเวลาที่เหมาะสม
 การบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ตามมาตรฐานเวชระเบียน
 เวลาที่ใช้ในการจัดทำเวชระเบียน< 5นาที
- การพิมพ์ เวชระเบียนผิดพลาด <2%
- การบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ตามมาตรฐานเวชระเบียน >95%
2.มีระบบการสืบค้นเวชระเบียน ที่ได้มาตรฐาน ทันเวลา
(ภายใน30นาที)
-ผู้ป่วยได้รับแฟ้มเวชระเบียน ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว
-มีข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียน ที่เอื้อต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
- ค้นพบเวชระเบียนในที่จัดเก็บ >95%
- การค้นเวชระเบียนผิดพลาด <2%
- การส่งมอบเวชระเบียน ผิดค้น <2%
- ความทันเวลาของการบริการเวชระเบียน ภายใน 30 นาที  >95%
3.ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

- ผู้ป่วยได้รับบริการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจาก Websiteทุกครั้ง ทุกราย
- ผู้ป่วยได้รับบริการ ตรงตามสิทธิ
- การตรวจสอบสิทธิ มีความถูกต้อง>95%
- เวลาในการให้บริการ < 5นาที
4.การให้รหัสโรคและหัตถการ ตาม ICD-10 และ ICD 9CM
- การให้รหัสโรคและหัตถการ ตามICD-10 และ ICD 9CM ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์
- การบันทึกข้อมูลรหัสโรคและหัตถการ ในระบบคอมพิวเตอร์ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ และทันเวลา
- การให้รหัสโรคและหัตถการ ตาม ICD-10 และ ICD 9CM ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ >95%
 การบันทึกข้อมูลรหัสโรคและหัตถการ ในระบบคอมพิวเตอร์ ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ >95%
- ระยะเวลาในการดำเนินการ ภายใน 7 วันหลังจำหน่าย

5.การจัดเก็บ
เวชระเบียน
- การจัดเก็บเวชระเบียน ตามระยะเวลาที่กำหนด
- เวชระเบียนถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสม ได้รับการป้องกันการสูญหาย ความเสียหายทางกายภาพ
- การสูญหายของเวชระเบียน < 2%
- การจัดเก็บเวชระเบียน ไม่น้อยกว่า 5 ปี





3.ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)


เครื่องชี้วัด
เป้าหมาย
ระดับปฏิบัติได้
ปี  2552
ปี  2553
ปี  2554
1 อัตราความทันเวลาของการบริการเวชระเบียน( 30 นาที)
95%

92.60
93.43%

93.45
2.อัตราการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากWebsite
95%

92
95
98
3.อัตราการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ถูกต้อง/ครบถ้วน
95%

95
96
98.50
4.อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ
85 %
84.2
80.57
82.61








4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่คาดหวังและป้องกันความเสี่ยงสำคัญของแต่ละกระบวนการ (รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว[1][2])
·       หน่วยเวชระเบียน One Stop Service เป็นระบบงานหนึ่งของการแก้ปัญหาเรื่องระยะเวลารอคอย ใช้หลักการ ลดขั้นตอน เพิ่มจุดบริการและพัฒนา IT” โดยจัดตั้งหน่วยเวชระเบียน One Stop service  5 จุดบริการ คือ 1. ออร์โธฯและเวชกรรมฟื้นฟู 2.ทันตกรรม จักษุ และโสต ศอ นาสิก 3.สูติ-นรีเวช และกุมารเวชกรรม 4.อายุรกรรมและศัลยกรรม 5.จิตเวช   ให้บริการ ทำบัตรใหม่ ,ค้นบัตรเก่า, ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล,อนุมัติสิทธิบัตรทองนอกเขต บัตรทองต่างจังหวัด และ ลงทะเบียน Admit ทำให้จำนวนผู้รับบริการที่ห้องบัตรลดลง ส่งผลให้การบันทึกข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์มากขึ้น ระยะเวลารอคอย ลดลง ความแออัดบริเวณหน้าห้องบัตร ลดลง พฤติกรรมบริการดีขึ้น ข้อร้องเรียนลดลง  และที่สำคัญความพึงพอใจของผู้รับบริการ เพิ่มมากขึ้น
     หน่วยทะเบียนRefer เป็นกระบวนการหนึ่งที่นอกเหนือจากภาระหน้าที่หลักของงานเวชระเบียน ในเรื่องของการให้บริการแบบ One stop serviceด้านการตรวจสอบและอนุมัติสิทธิการรักษาพยาบาล โดยให้บริการ 1.ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจาก Website 2.อนุมัติใช้สิทธิบัตรทองนอกเขต บัตรทองต่างจังหวัด และบัตรทองผู้พิการ(ท74) 3.ลงทะเบียนรับ Refer และลงทะเบียน ตอบกลับ Refer ในโปรแกรม HOSxP และ 4.บริการถ่ายเอกสารชุดเรียกเก็บฯ
·       หน่วยเวชระเบียน"สุขใจใกล้บ้าน" ตามโครงการพัฒนาระบบบริการ สุขใจใกล้บ้านของโรงพยาบาลราชบุรี ที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงระบบการให้บริการของผู้ป่วยนอกใหม่ เพื่อให้บริการในเชิงรุก ครอบคลุมทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการที่สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ลดระยะเวลารอคอย ลดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงในการเดินทางของผู้รับบริการ โดยโรงพยาบาลราชบุรี ได้จัดตั้งคลินิกผู้ป่วยนอก สาขาต่าง ๆ ใกล้บ้าน จำนวน สาขา ที่รองรับผู้รับบริการระดับปฐมภูมิทั้งหมด งานเวชระเบียน ได้จัดเจ้าหน้าที่เวชระเบียนประจำ ทั้ง5สาขา โดยให้บริการแบบ One stop service
·       ศูนย์จองห้องพิเศษ งานเวชระเบียน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการศูนย์จองห้องพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการห้องพิเศษให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความเป็นธรรมมากที่สุด เปิดบริการ ตั้งแต่วันที่         ตุลาคม 2554 ให้บริการทุกวัน เวลา 08.30-24.00.เป็นงานหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้ ให้โรงพยาบาลได้ ซึ่งการบริหารจัดการดูเหมือนไม่ยาก แต่ความเป็นจริง ยากที่สุดเพราะต้องบริหาร ให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่มีผลกระทบ เช่น 1.จำนวนห้องน้อย 2.ความต้องการมาก 3.ผู้ป่วย   นอนนาน:ครองห้องนาน 4.ผู้ป่วยจำหน่ายเร็ว:ยังไม่ถึงคิว 5.โทรจอง แต่ไม่มา Admit 6.อาการของผู้ป่วย ยังไม่สามารถเข้าห้องพิเศษได้ ฯลฯ ซึ่งเสี่ยงต่อการร้องเรียนสูง
·       ระบบคิวแบบธนาคาร หนึ่งในข้อร้องเรียนที่เป็นปัญหามากที่สุดคือการไม่ได้รับความเป็นธรรม ในการเข้ารับบริการ ที่งานเวชระเบียนพยายามที่จะพัฒนาระบบคิวให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยได้รับการสนับสนุนและพัฒนาโปรแกรมระบบคิวแบบธนาคารโดยคุณกิตติ ลิ้มทรงธรรมและคณะ
4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
·       ศูนย์จำหน่ายผู้ป่วย Discharge Center เป็นกระบวนการหนึ่งที่งานเวชระเบียน มองถึงระบบการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลพึงได้จากการให้บริการรักษาพยาบาล การดำเนินการของศูนย์จำหน่ายผู้ป่วย Discharge Center มีวัตถุประสงค์ เพื่อบริหารจัดการระบบการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์,เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบข้อมูลการรักษาพยาบาลและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในหลังจำหน่าย  ในระยะแรก ด้วยข้อจำกัด ของสถานที่ และบุคลากร งานเวชระเบียนดำเนินการ ได้ เฉพาะ ผู้ป่วย อายุรกรรม ทั้งหมด มีเพียง 23% เท่านั้น  มีผลลัพท์ ดี ซึ่งผู้บริหาร เห็นควรขยายการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นเป็น 100%
5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
·       หน่วยเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ เมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2553 งานเวชระเบียนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ห้องบัตร โดยมุ่งแก้ปัญหาเวชระเบียนหาย เอกสาร ใน แฟ้มเวชระเบียนไม่ครบถ้วน ที่ก่อให้ใบแทนจำนวนมากในระบบ งานเวชระเบียนคิดว่า ใน กระบวน การทำงาน ด้วยปริมาณที่มากเกินไปในระยะเวลาที่จำกัด ล้วนส่งผลเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น System  error หรือ Human error งานเวชระเบียน จึงพยายามที่จะพัฒนา ระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์  โดยเฉพาะในส่วนของ OPD Cardเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ เช่น ลดใบแทน ลดระยะเวลารอคอย ลดกระบวนการ ลดขั้นตอน ฯลฯ ที่ต้องอาศัยความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้ง Hardware, Software และ People wareรวมถึง ความพร้อมใช้งานของผู้รับผลงาน
       การพัฒนาระบบสารสนเทศ งานเวชระเบียนในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องพัฒนาตนเองในเรื่องของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มจากการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากWebsite ร่วมกับการใช้ บัตรประชาชนยืนยันตัวบุคคล ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2551 ในยุคต่อมาพัฒนา ในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะขั้นตอนการรับบริการ ที่เดิมใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ ที่เป็นปัญหาพอสมควร โดยที่งานเวชระเบียนได้นำระบบ Television Presentation มาใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานพยาบาลบริเวณหน้าห้องบัตร และต่อมาได้ดำเนินการในเรื่องของการสื่อสาร สู่ภายนอกสถานพยาบาลWebsite งานเวชระเบียน รพ.ราชบุรี ที่สามารถสืบค้นจากช่องค้นหาของ Google และมี อื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น ลงทะเบียนผู้ป่วยนอกออนไลน์ ,ขอสำเนาเวชระเบียนออนไลน์ติ-ชมออนไลน์แบบสำรวจความพึงพอใจงานเวชระเบียน รพ.ราชบุรีศูนย์จองห้องพิเศษ ฯลฯ